หน้าหลัก


งานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน วิทยาลัยการอาชีพชนแดน

ข้อมูลการดำเนินงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน วิทยาลัยการอาชีพชนแดน

                วิทยาลัยการอาชีพชนแดน ได้เข้าร่วมโครงการ ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๖๓ 

 รหัสสมาชิก  ๗-๖๗๑๕๐-๐๑๐   ( เมื่อวันที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๖๓ )

โครงการงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน วิทยาลัยการอาชีพชนแดน

                ที่ปรึกษา      นายพัฒน์คณวัชร์ นวมเฟื่อง  ผู้อำนวยการวิทยาลัยการอาชีพชนแดน

                ทะเบียนพรรณไม้ตั้งแต่ปี ๒๕๖๖  มีจำนวนทั้งหมด  ๔๗  ชนิด

          ที่มาตามที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงมีพระราชดำริบางประการ เกี่ยวกับการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช “การสอนและอบรมให้เด็กมีจิตสำนึกในการอนุรักษ์พืชพรรณนั้นควรใช้วิธีการปลูกฝังให้เด็กเห็นความงดงาม ความน่าสนใจ และเกิดความปิติที่จะทำการศึกษาและอนุรักษ์พืชพรรณต่อไปการใช้วิธีการสอนการอบรมที่ให้เกิดการรู้สึกกลัวว่า หากไม่อนุรักษ์แล้วจะเกิดผลเสีย เกิดอันตรายแก่ตนเอง จะทำให้เด็กเกิดความเครียด ซึ่งจะเป็นผลเสียแก่ประเทศในระยะยาว”

 หลักการและเหตุผล

          การดำเนินงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน เป็นการจัดการเรียนรู้เกี่ยวกับพืชพรรณและสิ่งมีชีวิตที่อยู่ตามธรรมชาติ และยังเป็นการเรียนรู้ตามแนวทางงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียนสามารถที่จะใช้ทุกสิ่งทุกอย่างที่มีอยู่ในโรงเรียนเพื่อการเรียนรู้ เกี่ยวกับพืชและสิ่งมีชีวิต เป็นปัจจัยหลัก และงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียนก็เป็นกิจกรรมหลักที่สำคัญของโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องจากพระราชดำริของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีในการสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์พืชพรรณต่างๆ โดยใช้สวนพฤกษศาสตร์โรงเรียนเป็นสื่อ วิทยาลัยได้เล็งเห็นความสำคัญในการที่จะสนองพระราชดำริจึงได้สมัครเป็นสมาชิกของโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช และจัดโครงการงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียนขึ้น

วัตถุประสงค์    

  • เป็นสถานที่ศึกษาจากสภาพจริงประกอบการเรียนรู้ของรายวิชาต่างๆ
  • เป็นกิจกรรมของชมรมอนุรักษ์ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมโดยให้นักเรียนนักศึกษารู้จักสร้างจิตสำนักในการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชและมุ่งให้เห็นความหลากหลายของพืชพรรณ
  • สนองพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารี เกี่ยวกับการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช
  •  ให้ร่วมคิด ร่วมปฏิบัติ จนเกิดประโยชน์แก่เยาวชน ชุมชน ประชาชน และมหาชนชาวไทย
  • ให้มีระบบข้อมูลพันธุกรรมพืชสื่อถึงกันได้ทั่วประเทศ

เป้าหมาย

  • เป็นศูนย์รวมเพื่อการศึกษาและแหล่งเรียนรู้พืชพรรณไม้ป่า ไม้ดอก ไม้ประดับ พืชสมุนไพร ทำให้เยาวชนในชุมชนตลอดนักเรียน นักศึกษา ได้เห็นความงดงาม ความน่าสนใจ และเกิดความรักและห่วงแหนแหล่งความรู้เพื่อการศึกษาและอนุรักษ์พืชพรรณต่อไป

สรุปผลการดำเนินงาน ปี ๒๕๖๖

 การดำเนินงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน วิทยาลัยการอาชีพชนแดน ประจำปี ๒๕๖๕ ในพื้นที่ ๒๐๐ ไร่ ตั้งอยู่ บ้านโคกเจริญ เลขที่  ๑๑๕/๓  หมู่ที่ ๑๓ ตำบล ชนแดน  อำเภอ ชนแดน จังหวัดเพชรบูรณ์ รหัสสมาชิก  ๗-๖๗๑๕๐-๐๑๐  ( เมื่อวันที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๖๓ )

          เปิดการสอน ๓  ประเภทวิชา ๓  สาขา ในระดับ ประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) และประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ได้แก่

ประเภทวิชาอุตสาหกรรม จำแนกเป็น  ๓ แผนกวิชา ได้แก่

แผนกอิเล็กทรอนิกส์

   แผนกช่างไฟฟ้า

   แผนกช่างยนต์

ประเภทวิชาพณิชยกรรม จำแนกเป็น ๑ แผนกวิชา ได้แก่

    แผนกการบัญชี

 ประเภทวิชา เทคโนโลยีสารสนเทศ จำแนกเป็น ๑ แผนกวิชา ได้แก่

แผนกเทคโนโลยีสารสนเทศ

จำนวนนักเรียน นักศึกษาทั้งหมด ระดับ ปวช – ปวสทุกแผนกวิชา จำนวน ๘๒๔ คน

     บุคลากรในสถานศึกษา

                   ผู้บริหาร                         ๔        คน

                   ข้าราชการครู                  ๑๐      คน

                   พนักงานราชการ               ๘       คน

                   ครูอัตราจ้าง                    ๑๕      คน

                   เจ้าหน้าที่                         ๑๓    คน

                   พนักงานขับรถ                  ๑     คน

                   แม่บ้านคนงานทั่วไป           ๒     คน

                   นักการภารโรง                    ๔     คน

                   ยามรักษาความปลอดภัย      ๓      คน

                   รวมทั้งหมด                      ๖๐     คน

 วิธีการดำเนินงานของงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน วิทยาลัยการอาชีพชนแดน

          ในด้านการดำเนินงาน สวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน ในปี ๒๕๖๕ นั้นได้เป็นการจัดการเรียนรู้  บูรณาการการเรียนการสอน โดยใช้ พืชพรรณ ต่างๆ ในวิทยาลัยโดยรอบตามแนวทางงาน สวนพฤกษศาสตร์ โรงเรียน โดยสามารถใช้ ทุกสิ่งทุกอย่าง ที่มีอยู่ในโรงเรียน เพื่อการเรียนรู้โดยมีพืช เป็นปัจจัยหลัก มีการเรียนรู้ตามองค์ประกอบ สวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน ดังนี้

องค์ประกอบที่ ๑ การจัดทำป้ายชื่อพรรณไม้
หลักการ รู้ชื่อ รู้ลักษณ์ รู้จัก
สาระสำคัญ

การจัดทำป้ายชื่อพรรณไม้โดยการเรียนรู้การกำหนดพื้นที่ศึกษา สำรวจและจัดทำผังพรรณไม้ แล้วศึกษา
พรรณไม้ทำตัวอยํางพรรณไม้ นำข้อมูลมาทำทะเบียนพรรณไม้และติดแสดงป้ายชื่อพรรณไม้สมบูรณ์
นำไปสูํการรู้ชื่อ รู้ลักษณะตําง ๆ รวมถึงรู้จักการใช้ประโยชน์ของพืช
ลำดับการเรียนรู้
๑) กำหนดพื้นที่ศึกษา
๒) สำรวจพรรณไม้ในพื้นที่ศึกษา
๓) ทำและติดป้ายรหัสประจำต้น
๔) ตั้งชื่อหรือสอบถามชื่อ และศึกษาข้อมูลพื้นบ้าน (ก.๗-00๓ หน้า ปก – ๑)
๕) ทำผังแสดงตำแหนํงพรรณไม้
๖) ศึกษาและบันทึกลักษณะทางพฤกษศาสตร์ (ก.๗-00๓ หน้า ๒-๗)
๗) บันทึกภาพหรือวาดภาพทางพฤกษศาสตร์
๘) ทำตัวอยํางพรรณไม้ (ตัวอยํางพรรณไม้แห้ง ตัวอยํางพรรณไม้ดอง ตัวอยํางพรรณไม้
เฉพาะสํวน)
๙) เปรียบเทียบข๎อมูลที่สรุป (ก.๗-00๓ หน้า ๘) กับข้อมูลที่สืบค้นจากเอกสาร แล้วบันทึก
ใน ก.๗-00๓ หน้า ๙ – ๑๐
๑๐) จัดระบบข้อมูลทะเบียนพรรณไม้ (ก.๗-๐๐๕)
๑๑) ทำร่างป้ายชื่อพรรณไม้สมบูรณ์
๑๒) ตรวจสอบความถูกต้องทางวิชาการด้านพฤกษศาสตร์
๑๓) ทำป้ายชื่อพรรณไม้สมบูรณ

องค์ประกอบที่ ๒ การรวบรวมพรรณไม้เข้าปลูกในโรงเรียน
หลักการ คลุกคลี เห็นคุณ สุนทรีย์
สาระสำคัญ

การรวบรวมพรรณไม้เข้าปลูกในโรงเรียน จัดให้มีการศึกษาธรรมชาติ สำรวจสภาพภูมิศาสตร์ของพื้นที่
ตามผังพรรณไม้ เพื่อกำหนดชนิด การใช้ประโยชน์ในพื้นที่ รวมถึงการเลือกวัสดุที่ใช้สำหรับปลูก และจัดทำผังพรรณไม้
ภูมิทัศน์แสดงรายละเอียดการจัดหาพรรณไม้ การเพาะปลูก จากนั้นทำการศึกษาพรรณไม้หลังการปลูกโดยการบันทึกการดูแลรักษา การเปลี่ยนแปลงของความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัย
ลำดับการเรียนรู้
๑) ศึกษาข้อมูลจากผังพรรณไม้เดิมและศึกษาธรรมชาติของพรรณไม้
๒) สำรวจ ศึกษา วิเคราะห์สภาพพื้นที่
๓) พิจารณาคุณ และสุนทรียภาพของพรรณไม้
๔) กำหนดการใช้ประโยชน์ในพื้นที่
๕) กำหนดชนิดพรรณไม้ที่จะปลูก
๖) ทำผังภูมิทัศน์
๗) จัดหาพรรณไม้ วัสดุปลูก
๘) ปลูกพรรณไม้เพิ่มเติม
๙) ศึกษาพรรณไม้หลังการปลูก

 

องค์ประกอบที่ ๓ การศึกษาข้อมูลด้านต่าง ๆ
หลักการ รู้การวิเคราะห์ เห็นความต่าง รู้ความหลายหลาก
สาระการเรียนรู้

การศึกษาข้อมูลด้านต่างๆ ทางด้านข้อมูลพื้นบ้าน ข้อมูลพรรณไม้ การสืบค้นข้อมูลด้านพฤกษศาสตร์
การศึกษาพรรณไม้ที่สนใจอย่างละเอียดทั้งโครงสร้างภายนอกและภายใน การก าหนดเรื่องที่จะเรียนรู้ใน
องค์ประกอบส่วนย่อยของพรรณไม้ที่สนใจ และเปรียบเทียบความต่างแต่ละเรื่องกับพืชชนิดเดียวกัน โดยมีการตรวจสอบผลงานเป็นระยะลำดับการเรียนรู้
๑) ศึกษาพรรณไม้ในสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน (ก.7-003) ครบตามทะเบียนพรรณไม้
๑.๑) มีส่วนร่วมของผู้ศึกษา
๑.๒) ศึกษาข้อมูลพื้นบ้าน
๑.๓) ศึกษาข้อมูลพรรณไม้
๑.๔) สรุปลักษณะและข้อมูลพรรณไม้
๑.๕) สืบค้นข้อมูลพฤกษศาสตร์
๑.๖) บันทึกข้อมูลเพิ่มเติม
๑.๗) ตรวจสอบผลงานเป็นระยะ
๑.๘) ความเป็นระเบียบ ความตั้งใจ
๒) ศึกษาพรรณไม้ที่สนใจ
๒.๑) ศึกษาลักษณะภายนอก ภายในของพืชแต่ละส่วนโดยละเอียด
๒.๒) ก าหนดเรื่องที่จะเรียนรู้ในแต่ละส่วนของพืช
๒.๓) เรียนรู้แต่ละเรื่อง แต่ละส่วนขององค์ประกอบย่อย
๒.๔) น าข้อมูลมาเปรียบเทียบความต่างในแต่ละเรื่อง ในชนิดเดียวกัน

องค์ประกอบที่ ๔ การรายงานผลการเรียนรู้
หลักการ รู้สาระ รู้สรุป รู้สื่อ
สาระการเรียนรู้

การรายงานผลการเรียนรู้ ที่ได้จากการรวบรวมผลการเรียนรู้ คัดแยกสาระส าคัญ จัดหมวดหมู่ จัดระบบ
ข้อมูล และการเขียนรายงานในรูปแบบวิชาการและแบบบูรณา โดยใช้ภาษาสื่อที่กระชับ ได้ใจความ รวมถึง
วิธีการรายงานในรูปแบบต่าง ๆ ทั้งแบบเอกสารแบบบรรยาย แบบศิลปะ และแบบนิทรรศการ เป็นต้น
ลำดับการเรียนรู้
๑) รวบรวมผลการเรียนรู้
๒) คัดแยกสาระสำคัญ และจัดให้เป็นหมวดหมู่
๒.๑) วิเคราะห์ เรียบเรียงสาระ
๒.๒) จัดระเบียบข้อมูลสาระแต่ละด้าน
๒.๓) จัดลำดับสาระหรือกลุ่มสาระ
๓) สรุปและเรียบเรียง
๔) เรียนรู้รูปแบบการเขียนรายงาน
๔.๑) แบบวิชาการ
๔.๒) แบบบูรณาการ
๕) กำหนดรูปแบบการเขียนรายงาน
๖) เรียนรู้วิธีการรายงานผล
๖.๑) เอกสาร เช่น หนังสือ แผ่นพับ
๖.๒) บรรยาย เช่น การเล่านิทาน อภิปราย สัมมนา
๖.๓) ศิลปะ เช่น การแสดงศิลปะพื้นบ้าน ละคร ร้องเพลง ภาพวาดทางพฤกษศาสตร์
๖.๔) นิทรรศการ
๗) กำหนดวิธีการรายงานผล

องค์ประกอบที่ ๕ การนำไปใช้ประโยชน์ทางการศึกษา
หลักการ นำองค์ความรู้ ที่เป็นวิทยาการ เผยแพร่เพื่อให้เกิดองค์ความรู้ใหม่
สาระสำคัญ

การนำไปใช้ประโยชน์ทางการศึกษาโดยการบูรณาการสู่การเรียนการสอน การใช้สวนพฤกษศาสตร์
โรงเรียนเป็นแหล่งเรียนรู้ บันทึกข้อมูล รวบรวมเป็นพิพิธภัณฑ์เฉพาะเรื่อง พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยา รวมถึง
การเผยแพร่องค์ความรู้ การใช้และพัฒนาแหล่งเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง
ลำดับการเรียนรู้
๑) นำสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียนบูรณาการสู่การเรียนการสอน
๑.๑) จัดทำหลักสูตรและการเขียนแผนการสอนให้สอดคล้องกับหลักสูตรแกน
กลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑
๑.๒) จัดเก็บผลการเรียนรู้
๒) เผยแพร่องค์ความรู้
๒.๑) บรรยาย
๒.๑.๑)สนทนา
๒.๑.๒) เสวนา
๒.๑.๓)สัมมนา/อภิปราย
๒.๒) จัดแสดง
๒.๒.๑)จัดแสดงนิทรรศการ
๒.๒.๒) นิทรรศการประกอบบรรยายสรุป
๒.๒.๓)จัดนิทรรศการเฉพาะเรื่อง/ประเภท
๓) จัดสร้างแหล่งเรียนรู้
๓.๑) จัดแสดงพิพิธภัณฑ์
๓.๒) จัดแสดงพิพิธภัณฑ์เฉพาะเรื่อง
๓.๓) จัดแสดงพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยา
(หมายเหตุ : จัดสร้างแหล่งเรียนรู้ตามศักยภาพ)
๔) ใช้ ดูแลรักษา และพัฒนาแหล่งเรียนรู้

กิจกรรมดำเนินงาน ๕ องค์ประกอบ และการฝึกอบรมงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน

วิทยาลัยการอาชีพชนแดน

        โครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการประชุมขับเคลื่อน การดำเนินงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี ในพื้นที่รับผิดชอบของศูนย์ประสานงาน อพ.สธ มหาวิทยาลัยนเรศวร จังหวัดพิษณุโลก วันที่ ๓๐ มีนาคม ๒๕๖๖

  โครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ งานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน ภายใต้โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช อันเนืองมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ระหว่างวันที่ ๖-๗ สิงหาคม ๒๕๖๕ โรงเเรม The Grand Hill Resort & Spa 

โครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ กลุ่มสมาชิกสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน ภาคเหนือตอนล่าง หลักสูตร การบริหารและการจัดการ องค์ประกอบที่๑ และองค์ประกอบที่ ๒ มหาวิทยาลัยนเรศวร จังหวัดพิษณุโลก วันที่ ๓-๔ เมษายน ๒๕๖๖

โครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ การดำเนินงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน หลักสูตร ๕ องค์ประกอบ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน จังหวัดขอนแก่น วันที่ ๒๔-๒๗ มกราคม ๒๕๖๖

โครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ กลุ่มสมาชิกสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน ภาคเหนือตอนล่าง การดำเนินงานหลักสูตร ๕ องค์ประกอบ มหาวิทยาลัยนเรศวร จังหวัดพิษณุโลก วันที่ ๒๗-๒๙ มิถุนายน ๒๕๖๖

การฝึกอบรมหลักสูตร ๖ งานฐานทรัพยากรท้องถิ่นผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ออนไลน์ โปรแกรม Zoom Meeting มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย วันที่ ๑๘-๑๙ พฤษภาคม ๒๕๖๖

การฝึกอบรมหลักสูตร แนวทางขับเคลื่อนการดำเนินงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ออนไลน์ โปรแกรม Zoom Meeting สำนักงานศึกษาธิการภาค ๑๗ วันที่ ๓๐ มิถุนายน ๒๕๖๖

โครงการฝึกอบรมส่งเสริมให้นักเรียน นักศึกษาเข้าใจแนวการดำเนินโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ งานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน ประจำปีการศึกษา ๒๕๖๖ วันที่ ๑๓ กันยายน ๒๕๖๖ ณ ห้องประชุมอัสชัญ วิทยาลัยการอาชีพชนแดน

แผนกการบัญชีจัดทำโครงการ Eco print การสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์บนผืนผ้า จากวัสดุธรรมชาติ ก่อให้เกิดสีและลวดลายที่งดงาม บูรณาการ การเรียนการสอน วิชาโครงการ เพื่อส่งเสริมให้นักเรียน นักศึกษาเข้าใจแนวทางการนำวัสดุธรรมชาติรอบตัวเรามาใช้ประโยชน์เพื่องานศิลปะ ภายใต้โครงการ ชนแดนแสนใบ#งานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน# วันที่ ๘ พฤศจิกายน ๒๕๖๖ ณ โดมเอนกประสงค์วิทยาลัยการอาชีพชนแดน

แผนกสามัญสัมพันธ์ บูรณาการ การเรียนการสอน วิชาวิทยาศาสตร์ เพื่อส่งเสริมให้นักเรียน นักศึกษาเข้าใจแนวทางการนำวัสดุธรรมชาติรอบตัวเรามาใช้ประโยชน์ เพื่อเก็บพรรณไม้ ภายใต้โครงการ ชนแดนแสนใบ#งานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน# วันที่ ๒๐ พฤศจิกายน ๒๕๖๖ ณ แผนกสามัญสัมพันธ์ วิทยาลัยการอาชีพชนแดน

กิจกรรม “โครงการวันดินโลก (World Soil Day)” ประจำปีการศึกษา ๒๕๖๖ เพื่อนักเรียน นักศึกษาเกิดความตระหนักถึงความสำคัญของทรัพยากรดิน และเกิดจิตสำนึกในการช่วยกันอนุรักษ์ทรัพยากรดิน และน้อมรำลึกถึง พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร วันชาติ และวันพ่อแห่งชาติ ๕ ธันวาคม ๒๕๖๖ ในวันศุกร์ที่ ๑ ธันวาคม ๒๕๖๖ เวลา ๐๘.๐๐ – ๑๐.๐๐ น. ณ วิทยาลัยการอาชีพชนแดน

การประชุมกลุ่มสมาชิกสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน ภาคเหนือตอนล่าง หลักสูตร การบริหารและการจัดการ องค์ประกอบที่ ๓-๕ รุ่นที่ ๑/๒๕๖๗ ณ ห้องประชุมมหามนตรี ชั้้น ๑ อาคารศูนย์แสดงนิทรรศการและการประชุมสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ( KNECC ) มหาวิทยาลัยนเรศวร จังหวัดพิษณุโลก วันที่ ๓๐-๓๑ มกราคม ๒๕๖๗

โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน หลักสูตร ๕ องค์ประกอบ ณ ห้องประชุมอัญชัน วิทยาลัยการอาชีพชนแดน จังหวัดเพชรบูรณ์ วันที่ ๑๘-๑๙ มีนาคม ๒๕๖๗

คณะครู นักเรียน นักศึกษาเข้าร่วมการอบรมการทำแก้วพิมพ์ลายใบไม้ด้วยเทคนิค Eco print องค์การบริหารส่วนตำบลชนแดน จังหวัดเพชรบูรณ์ วันที่ ๒๘ มีนาคม ๒๕๖๗ ภายใต้โครงการชนแดนแสนใบ

โพสท์ใน Uncategorized | ใส่ความเห็น

ประมวลภาพกิจกรรม

งานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน วิทยาลัยการอาชีพชนแดน

โหลดไฟล์ Cloud Storage Image

โพสท์ใน Uncategorized | ใส่ความเห็น

Links ที่เกี่ยวข้อง

Links น่าสนใจเกี่ยวกับงานด้านพฤกษศาสตร์
=============================
 
 เว็บไซต์ขอสวนคิว ประเทศอังกฤษ
http://www.rbgkew.org.uk/
 
  ………………………………………………………………………
 เวบไซต์สำหรับค้นหาข้อมูลทางด้านพฤกษศาสตร์ในอินเตอร์เนต
http://www.botany.net/     Internet Directory for Botany
  ……………………………………………………………………..
 สำนักหอพรรณไม้  กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพรรณพืช
  ………………………………………………………………………
 สวนพฤกษศาสตร์แห่งแรกของประเทศไทย มีข้อมูลทางด้านพฤกษศาสตร์ให้ค้นคว้า
องค์การสวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์
  ………………………………………………………………………
 หน่วยปฏิบัติการวิจัยพรรณไม้ประเทศไทย  ภาควิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  ………………………………………………………………………
 Flora of Thailand   แหล่งสำหรับสืบค้นข้อมูลพรรณไม้
  ………………………………………………………………………
 Flora of China   แหล่งสำหรับสืบค้นข้อมูลพรรณไม้

งานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน วิทยาลัยการอาชีพชนแดน

โพสท์ใน Uncategorized | ใส่ความเห็น

ที่มาและความสำคัญในการสนองพระราชดำริ

ที่มาและความสำคัญในการสนองพระราชดำริโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี (อพ.สธ.) เป็นโครงการที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงสืบสานพระราชปณิธานในการอนุรักษ์ทรัพยากรของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งทรงมีสายพระเนตรยาวไกล โดยที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงให้ความสำคัญและเห็นความสำคัญของการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดดังในปี พ.ศ. 2503 ทรงอนุรักษ์ต้นยางนา ในปี พ.ศ. 2504 ทรงให้นำพรรณไม้จากภูมิภาคต่าง ๆมาปลูกไว้ในสวนจิตรลดา เพื่อเป็นแหล่งศึกษา และทรงมีโครงการพระราชดำริที่เกี่ยวกับการอนุรักษ์พัฒนาทรัพยากร พัฒนาแหล่งน้ำ การอนุรักษ์และพัฒนาดิน อนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ เป็นการอนุรักษ์และพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติ ต่อมาในปี พ.ศ. 2535 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้ทรงสืบสานพระราชปณิธานต่อโดยมีพระราชดำริกับ นายแก้วขวัญ วัชโรทัย เลขาธิการพระราชวัง ให้ดำเนินการอนุรักษ์พืชพรรณของประเทศโดยพระราชทานให้โครงการส่วนพระองค์ฯ สวนจิตรลดา ฝุายวิชาการ เป็นผู้ดำเนินการจัดตั้งธนาคารพืชพรรณขึ้น ในปี พ.ศ. 2536-2549 โดยรับทุนสนับสนุนจากสำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (กปร.) และเป็นหน่วยงานขึ้นตรงกับเลขาธิการพระราชวังตั้งแต่ปี พ.ศ. 2539 และต่อมาในปีงบประมาณ พ.ศ. 2550 สำนักพระราชวังดำเนินการจัดสรรงบประมาณให้และให้ อพ.สธ. ดำเนินการแยกส่วนอย่างชัดเจนจากโครงการส่วนพระองค์ฯ สวนจิตรลดา การดำเนินงานอพ.สธ. ดำเนินงานโดยอยู่ภายใต้แผนแม่บทซึ่งเป็นระยะ ๆ ละ ห้าปี ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2535 เป็นต้นมาจนมาถึงแผนที่หก จึงเรียกว่าแผนแม่บท อพ.สธ. ระยะ 5 ปีที่หก การดำเนินงาน อพ.สธ. ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2535 จนถึงปัจจุบันมีหน่วยงานต่าง ๆ ร่วมสนองพระราชดำริเพิ่มขึ้นมากกว่า 776 หน่วยงาน สมาชิกสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียนซึ่งเป็นสถานศึกษาเป็นสมาชิกมากกว่า3,028 โรงเรียน (ข้อมูล ณ วันที่ 4 กรกฎาคม 2560) ยิ่งไปกว่านั้นในแผนแม่บทระยะ 5 ปีที่ห้า อพ.สธ. กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นขอเข้าร่วมสนองพระราชดำริโดยพระราชานุญาตให้เป็นหน่วยงานที่ร่วมสนองพระราชด าริ อพ.สธ. ในปีงบประมาณ 2558 โดยที่ทางกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น เป็นนโยบายสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการดำเนินงานฐานทรัพยากรท้องถิ่น ซึ่งดำเนินงานอยู่ภายใต้กรอบการสร้างจิตสำนึก กิจกรรมที่ 8 กิจกรรมพิเศษสนับสนุนการอนุรักษ์ทรัพยากร โดยให้มีสมาชิกฐานทรัพยากรท้องถิ่นในอำเภอละหนึ่งตำบล / หนึ่งเทศบาลเป็นอย่างน้อย โดยเริ่มต้นการสำรวจฐานทรัพยากรท้องถิ่นที่มีอยู่จริงว่ามีอะไรอยู่ที่ไหน และเริ่มการดูแลอนุรักษ์และใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืนในทรัพยากรท้องถิ่นที่มีอยู่นำไปสู่การวางแผนพัฒนาตำบลบนพื้นฐานของทรัพยากรที่มีอยู่จริง โดยเริ่มตั้งแต่การสำรวจและการทำฐานข้อมูลทรัพยากรท้องถิ่นซึ่งประกอบด้วย 3 ฐานทรัพยากรได้แก่ ทรัพยากรชีวภาพ (สิ่งที่มีชีวิต), ทรัพยากรกายภาพ(สิ่งที่ไม่มีชีวิต) และทรัพยากรวัฒนธรรมและภูมิปัญญา ด้วยเหตุนี้ทำให้พื้นที่และกิจกรรมดำเนินงานของโครงการฯ กระจายออกไปในภูมิภาคต่าง ๆ และมีการดำเนินงานที่หลากหลายมากขึ้นการดำเนินงานในแผนแม่บททุกระยะ 5 ปีที่ผ่านมาของ อพ.สธ. ได้ดำเนินการสอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ 2 มาโดยตลอด และในแผนแม่บทระยะ 5 ปีที่หกนี้มีแนวทางดำเนินการที่สอดคล้องและสนับสนุนแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (ปีงบประมาณ พ.ศ. 2560 – 2564) ซึ่งมีกรอบแนวคิดและหลักการในการวางแผนที่สำคัญได้แก่ (1) การน้อมนำและประยุกต์ใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (2) คนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนาอย่างมีส่วนร่วม (3) การสนับสนุนและส่งเสริมแนวคิดการปฏิรูปประเทศ และ (4)การพัฒนาสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน เพื่อให้สังคมอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข ซึ่งกรอบแนวความคิดทั้งสี่นั้นล้วนแต่ต้องดำเนินการภายใต้การดูแลรักษาทรัพยากรและการนำมาใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน ยิ่งไปกว่านั้น อพ.สธ.ยังมีกิจกรรมตามกรอบแผนแม่บท อพ.สธ. ที่สอดคล้องกับแผนการขับเคลื่อนและปฏิรูประบบวิจัยแบบบูรณาการของประเทศและกรอบยุทธศาสตร์การวิจัยแห่งชาติ 20 ปีทั้ง 7 ยุทธศาสตร์ ได้แก่ (1) ด้านความมั่นคง(2)ด้านการเกษตร (3) ด้านอุตสาหกรรม (4) ด้านสังคม (5) ด้านการแพทย์และสาธารณสุข (6) ด้านพลังงาน (7) ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อให้ส่งผลประโยชน์ต่อประเทศชาติและประชาชนให้มากที่สุด เพื่อการบริหารจัดการความรู้ผลงานวิจัย นวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ทรัพยากร และภูมิปัญญาของประเทศ สู่การใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์และสาธารณะ ด้วยยุทธวิธีที่เหมาะสมที่เข้าถึงประชาชนและประชาสังคมอย่างแพร่หลายแผนแม่บท อพ.สธ. ระยะ 5 ปีที่หก (ตุลาคม พ.ศ. 2559-กันยายน พ.ศ. 2564) เป็นแผนแม่บทที่จัดทำขึ้น เพื่อใช้เป็นกรอบในการดำเนินงานตามแนวทางพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี โดยมีหน่วยงานที่ร่วมสนองพระราชดำริเข้ามามีส่วนร่วมวางแผนงาน ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาคทั่วประเทศไทย ทั้งภาครัฐและเอกชน ให้มีแนวทางดำเนินงานต่อเนื่องตามกรอบแผนแม่บทโดยเน้นการทำงานเข้าไปสร้างจิตสำนึกในการรักษาทรัพยากรตั้งแต่ในสถานศึกษาดำเนินงานในระดับท้องถิ่นในการทำฐานข้อมูลทรัพยากรท้องถิ่นซึ่งประกอบด้วย 3 ฐานทรัพยากรได้แก่ ทรัพยากรชีวภาพ, ทรัพยากรกายภาพ และทรัพยากรวัฒนธรรมและภูมิปัญญา จากฐานข้อมูลดังกล่าวจะนำไปสู่การอนุรักษ์และใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืนบนพื้นฐานของการมีจิตสำนึกในการอนุรักษ์ทรัพยากรที่มีอยู่ในประเทศไทยต่อไปสถานการณ์ด้านทรัพยากรของประเทศไทย

งานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน วิทยาลัยการอาชีพชนแดน

โพสท์ใน Uncategorized | ใส่ความเห็น

พืชศึกษา ดอกอัญชัน

งานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน วิทยาลัยการอาชีพชนแดน

ดอกอัญชัน (Butterfly pea) คืออะไร?

อัญชัน ชื่อทางวิทยาศาสตร์ Clitoria ternatea L. เป็นไม้เลื้อยเนื้ออ่อน อายุสั้น ใช้ยอดเลื้อยพัน ลำต้นมีขนปกคลุม ใบประกอบแบบขนนก เรียงตรงข้ามยาว 6-12 เซนติเมตร มีใบย่อยรูปไข่ 5-7 ใบ กว้าง 2-3 เซนติเมตร ยาว 3-5 เซนติเมตร ปลายใบแหลม โคนใบมน ผิวใบด้านล่างมีขนหนาปกคลุม

ดอกอัญชันเป็นไม้เถา มีดอกสีม่วงอมน้ำเงินสวยงามตามธรรมชาติ ทำให้นิยมนำมาคั้นเป็นสีผสมอาหาร คุณประโยชน์ของดอกอัญชันยังครอบคลุมไปถึงสรรพคุณทางยาอันหลากหลาย เช่น ลดไข้ แก้หอบหืด เป็นต้น

210416-Content-สรรพคุณ-'ดอกอัญชัน'-และการนำมาใช้ประโยชน์-


ลัก
กษณะทางพฤกษศาสตร์ ดอกสีขาว ฟ้า และม่วง ดอกออกเดี่ยว ๆ รูปทรงคล้ายฝาหอยเชลล์ออกเป็นคู่ตามซอกใบ กลีบดอก 5 กลีบ ดอกบานเต็มที่ยาว 2.5-3.5 เซนติเมตรกลีบคลุมรูปกลม ปลายเว้าเป็นแอ่ง ตรงกลางมีสีเหลือง มีทั้งดอกซ้อนและดอกลา ดอกชั้นเดียวกลีบขั้นนอกมีขนาดใหญ่กลางกลีบสีเหลือง ส่วนกลีบชั้นในขนาดเล็กแต่ดอกซ้อนกลีบดอกมีขนาดเท่ากัน ซ้อนเวียนเป็นเกลียว ออกดอกเกือบตลอดปี ผลแห้งแตก เป็นฝักแบน กว้าง 1-1.5 เซนติเมตร ยาว 5-8 เซนติเมตร เมล็ดรูปไต สีดำ มี 5-10 เมล็ด

  • ดอก ใช้ปลูกผมทำให้ผมดกดำ เงางามมากขึ้น เพราะดอกอัญชันมีสารที “แอนโทไซยานิน” (Anthocyanin) ซึ่งช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของโลหิต ทำให้เลือดไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ได้ดีมากขึ้น
  • ดอก นำมาคั้นนำใช้หุงข้าวได้ด้วย ช่วยให้ข้าวที่หุงมีสีสันที่สวยงาม
  • เมล็ด เป็นยาระบาย
  • ราก บำรุงตาแก้ตาฟาง ถูฟันแก้ปวดฟัน ตาแฉะ และปรุงเป็นยาขับปัสสาวะ นำรากมาถูกับน้ำฝนใช้หยอดหู และหยอดตา


10 ประโยชน์ดี ๆ จากดอกอัญชัน

1. บำรุงสายตา ป้องกันอาการตาฝ้าฟาง ตาแฉะ และป้องกันโรคต้อกระจก

2. ช่วยลดน้ำตาลในเลือด เหมาะกับผู้ป่วยโรคเบาหวาน

3. เพิ่มภูมิต้านทานให้กับร่างกาย

4. ขับปัสสาวะ และเป็นยาระบายอ่อน ๆ

5. มีสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยต่อต้านโรคมะเร็งได้

6. ชะลอริ้วรอย และดูแลผิวพรรณให้เต่งตึง กระชับ

7. ลดความเสี่ยงในการเป็นโรคไขมันอุดตันเส้นเลือด

8. บำรุงผมให้เงางาม ดกดำ มักเป็นส่วนประกอบของยาสระผม หรือครีมบำรุงผม

9. ช่วยสลายลิ่มเลือด

10. ช่วยให้ระบบโลหิตไหลเวียนได้ดียิ่งขึ้น


วิธีทำน้ำดอกอัญชัน

🍹วัตถุดิบ

น้ำดอกอัญชัน1 ถ้วย
น้ำผึ้ง 2 ช้อนโต๊ะ
น้ำเชื่อม4 ช้อนโต๊ะ
210416-Content-สรรพคุณ-'ดอกอัญชัน'-และการนำมาใช้ประโยชน์-03


🍹ขั้นตอนการทำน้ำดอกอัญชัน

  1. เริ่มทำน้ำดอกอัญชันก่อน ด้วยการนำดอกอัญชันสดประมาณ 100 กรัม นำมาล้างน้ำให้สะอาด แล้วใส่หม้อเติมน้ำเปล่า 2 ถ้วย นำไปต้มจนเดือด ปิดฝาทิ้งไว้ประมาณ 3 นาที แล้วกรองดอกอัญชันขึ้นจากหม้อ
  2. ต่อมาทำน้ำเชื่อม โดยใช้สัดส่วน น้ำเปล่า 500 กรัม/ น้ำตาลทราย 500 กรัม
  3. เมื่อได้ส่วนผสมครบแล้วให้นำน้ำดอกอัญชัน, น้ำเชื่อม, น้ำผึ้ง ผสมรวมกัน
  4. ชิมรสชาติตามชอบใจ พร้อมเสิร์ฟ


ขอแนะนำเมนู “น้ำพั้นช์ดอกอัญชัน”

หากใครชอบความสดชื่น ให้ใช้ส่วนผสม ดังนี้

น้ำดอกอัญชัน 1⁄2 ถ้วย
น้ำผึ้ง4 ช้อนโต๊ะ
น้ำเชื่อม6 ช้อนโต๊ะ
น้ำมะนาว1⁄2 ถ้วย
น้ำโซดาเย็น1 ขวด
210416-Content-สรรพคุณ-'ดอกอัญชัน'-และการนำมาใช้ประโยชน์-04


วิธีทำน้ำพั้นซ์ดอกอัญชัน

  1. นำส่วนผสมทั้งหมดมาผสมรวมกัน
  2. ชิมรสชาติตามชอบ
  3. ใส่น้ำแข็งเกล็ด เพื่อความสดชื่นยิ่งขึ้น พร้อมเสิร์ฟ

👉 ถ้าต้องการทำเป็นน้ำชาไว้ดื่ม ให้ใช้ดอกอัญชันที่ตากแห้งแล้ว ประมาณ 25 ดอก นำมาชงในน้ำเดือด 1 ถ้วย แล้วนำมาดื่ม ก็อร่อยสดชื่นไม่แพ้กัน 👍

คำแนะนำ

  • ควรดื่มทันทีเมื่อทำเสร็จ เพื่อรักษาคุณค่าทางสารอาหาร และยา
  • ไม่ควรดื่มน้ำสมุนไพรในอุณหภูมิที่ร้อนจัด หรือมีอุณหภูมิเกิน 60 องศาเซลเซียสขึ้นไป เพราะอาจจะทำให้เยื่อบุผิวหลอดอาหารเสียสภาพภูมิคุ้มกันได้ ทำให้ดูดซับสารก่อมะเร็งและสารอื่น ๆได้ง่าย
  • ไม่ควรดื่มน้ำสมุนไพรใด ๆ ชนิดเดียวติดต่อกันเป็นเวลานาน ซึ่งอาจจะเป็นผลเสียต่อร่างกายมากกว่าผลดี


อัญชันกับอาหาร เป็นอย่างไร?

อันชัญเป็นดอกไม้อีกหนึ่งประเภทที่นิยมนำไปทำอาหาร โดยปกติจะใช้สีจากการต้ม และคั้นน้ำของดอกเพื่อมาผสมกับแป้งต่าง ๆ ทำเป็น ขนมชั้น, ทับทิมกรอบ, บัวลอย ฯลฯ นอกจากนั้น ดอกก็สามารถนำมาชุบแป้งทอด ใส่สลัดต่าง ๆ เพื่อตกแต่งจาน หรือทำไข่เจียวหรือชาอัญชันก็ได้ 😍

210416-Content-สรรพคุณ-'ดอกอัญชัน'-และการนำมาใช้ประโยชน์-05


ข้อควรระวังในการทานดอกอัญชัน

  • ดอกอัญชันมีฤทธิ์ในการสลายลิ่มเลือด จึงไม่เหมาะกับคนที่อยู่ในภาวะโลหิตจาง 
  • ไม่ควรดื่มน้ำอัญชันที่มีความเข้มข้นมากเกินไป และไม่ดื่มแทนน้ำเปล่า
  • ควรใช้ดอกอัญชันชงเป็นเครื่องดื่มในปริมาณแต่พอน้อย
  • ผู้ที่มีอาการแพ้ละออง หรือเกสรดอกไม้ชนิดต่าง ๆ ควรระมัดระวังในการใช้ดอกอัญชัน หรือผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของอัญชัน เนื่องจากเสี่ยงก่อให้เกิดอาการแพ้ได้เช่นเดียวกัน
  • หากกำลังตั้งครรภ์ ควรเข้ารับคำปรึกษาจากแพทย์ก่อนรับประทาน
  • หลีกเลี่ยงการรับประทานเมล็ดอัญชัน เพราะเมล็ดจะส่งผลระคายเคืองต่อทางเดินอาหาร ทำให้คลื่นไส้และอาเจียนได้
  • ดอกอัญชันควรหลีกเลี่ยงการรับประทานแบบไม่ผ่านการปรุงสุก และก่อนนำมารับประทาน ควรดึงบริเวณขั้วดอกออก เพราะบริเวณขั้วดอกมียางซึ่งมีฤทธิ์เป็นกรด ส่งผลต่อการระคายเคืองในลำคอ อาจจะเกิดการกัดหลอดอาหารในลำคอได้
  • หลีกเลี่ยงการทานดอกอัญชันคู่กับยาต้านการแข็งตัวของเลือด เพราะจะทำให้ประสิทธิภาพการทำงานของยาลดลง


จะเห็นได้ว่าดอกอัญชันนั้น นอกจากจะเป็นดอกไม้ที่ให้สีสวยสดอย่างเป็นเอกลักษณ์ริมรั้วแล้ว ยังมีประโยชน์ และสรรพคุณหลายด้านทีเดียว 💜 ใครที่กำลังมองหาสมุนไพรบำรุงสุขภาพ อาจจะนำมาคั้นทำเป็นเครื่องดื่มหรือหมักผม เขียนคิ้ว เลือกใช้ดอกอัญชันบ้าง รับรองไม่มีผิดหวังอย่างแน่นอน แต่อย่างไรแล้วก็ตามอย่าลืมใช้โดยคำนึงถึงความเหมาะสม เพราะบางคนอาจจะเกิดอาการแพ้ได้นั่นเอง

โพสท์ใน Uncategorized | ใส่ความเห็น

ทะเบียนพรรณไม้วิทยาลัยการอาชีพชนแดน

โหลดทะเบียนพรรณไม้ ปีการศึกษา 2566

งานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน วิทยาลัยการอาชีพชนแดน

โพสท์ใน Uncategorized | ใส่ความเห็น

พระราชดำริบางประการ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

งานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน วิทยาลัยการอาชีพชนแดน

      ตามที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงมีพระราชดำริบางประการเกี่ยวกับ การอนุรักษ์พันธุกรรมพืช "การสอนและอบรมให้เด็กมีจิตสำนึกในการอนุรักษ์พืชพรรณนั้น ควร ใช้วิธีการปลูกฝังให้เด็กเห็นความงดงาม ความน่าสนใจ และเกิดความปิติที่จะทำการ ศึกษาและอนุรักษ์พืชพรรณต่อไป การใช้วิธีการสอนการอบรมที่ให้เกิดความรู้สึกกลัวว่า หากไม่อนุรักษ์แล้วจะเกิดผลเสีย เกิดอันตรายแก่ตนเอง จะทำให้เด็กเกิดความเครียด ซึ่งจะเป็นผลเสียแก่ประเทศในระยะยาว"

      โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจาก พระราชดำริฯ ได้ดำเนินงานสนองพระราชดำริ จัดตั้งงาน "สวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน" เพื่อเป็นสื่อในการสร้าง จิตสำนึกด้านอนุรักษ์พันธุกรรมพืช โดยให้เยาวชนนั้น ได้ใกล้ชิดกับพืชพรรณไม้ เห็นคุณค่า ประโยชน์ ความ สวยงาม อันจะก่อให้เกิดความคิดที่จะอนุรักษ์พืชพรรณ ต่อไป ซึ่งสามารถดำเนินการสวนพฤกษศาสตร์ในพื้นที่ของโรงเรียน โดยมีองค์ประกอบดังกล่าว เป็นสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน ใช้ในวัตถุประสงค์ดังกล่าว อีกทั้งใช้ในการศึกษาและเป็น ประโยชน์ต่อเนื่องใน การเรียนการสอนวิชาต่างๆ

      สวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน  จึงเป็นการดำเนินงานที่อิงรูปแบบของ “สวนพฤกษศาสตร์” โดยมี การรวบรวมพันธุ์ไม้ที่มีชีวิต มีแหล่งข้อมูลพรรณไม้ มีการศึกษาต่อเนื่อง มีการเก็บตัวอย่างพรรณไม้แห้ง พรรณไม้ดอง มีการรวบรวมพันธุ์ไม้ท้องถิ่นเข้ามาปลูกรวบรวมไว้ในโรงเรียน และภูมิปัญญาท้องถิ่น มีการบันทึกรายงานและข้อมูล รวมทั้งภูมิปัญญาท้องถิ่นเกี่ยวกับพันธุ์ไม้ มีมุมสำหรับศึกษาค้นคว้าและมีการนำไปใช้ประโยชน์เป็นสื่อการเรียนการสอนในวิชาต่างๆ เป็นการดำเนินการให้สอดคล้อง กับสภาพท้องถิ่น ไม่ฝืนธรรมชาติ และเป็นไปตามความสนใจและความพร้อมของโรงเรียน ดำเนินการ โดยความสมัครใจ ไม่ให้เกิดความเครียด

      ดร. พิศิษฐ์ วรอุไร ประธาน คณะกรรมการบริหารโครงการ อนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่อง มาจากพระราชดำริฯ ( ปัจจุบันเป็นกรรมการที่ปรึกษา ในคณะกรรมการโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ และประธานคณะที่ปรึกษาประสานงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ) ได้ประชุม หารือกับคณาจารย์และ ราชบัณฑิต ด้านพฤกษศาสตร์ เห็นพ้องต้องกันที่จะใช้ “สวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน” เป็นสื่อในการที่จะให้นักเรียน เยาวชน และประชาชนทั่วไป ได้มีความเข้าใจ เห็นความสำคัญ ของพืชพรรณ เกิดความรัก หวงแหน และรู้จักการนำไปใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน ซึ่งสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้พระราชทานพระราชดำริ และแนวปฏิบัติให้เป็นงานหนึ่งในกิจกรรมสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์ พันธุกรรมพืช และชัดเจนใน คำจำกัดความของ “สวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน” ซึ่งจะดำเนินการในพื้นที่โรงเรียน มหาวิทยาลัย หรือสถาบันการศึกษา โดยใช้แนวทางการดำเนินงานตามแบบอย่างสวนพฤกษศาสตร์ ในการเป็นที่รวบรวม พรรณไม้ที่มีชีวิต มีการศึกษาต่อเนื่อง มีห้องสมุดที่ใช้ในการศึกษา เก็บตัวอย่าง พรรณไม้แห้ง-ดอง แต่ย่อขนาดมาดำเนินการในพื้นที่เล็กๆ โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ จึงได้จัดการประชุมเพื่อเผยแพร่ พระราชดำริและแนวทางการดำเนินงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียนให้กับโรงเรียนมัธยมสังกัด กรมสามัญศึกษา การประถมศึกษาแห่งชาติ และการศึกษาเอกชน ซึ่งปัจจุบันสังกัดในสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ) โดยให้โรงเรียนที่สนใจสมัครใจที่จะร่วมสนองพระราชดำริ สมัครเป็นสมาชิก ขณะนี้มีโรงเรียนสมาชิก ตั้งแต่ระดับอนุบาล ประถมศึกษา มัธยมศึกษา อาชีวศึกษา และระดับอุดมศึกษา 860 โรงเรียน ( ณ วันที่ 16 พฤษภาคม 2550)

      สำหรับการดำเนินงานในระยะ 5 ปีที่สี่ ( ตุลาคม 2549 – กันยายน 2554 ) มีนโยบายการดำเนินงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน เข้มข้น = เนื้อหาวิชาการมากขึ้น เข้มแข็ง = มีผู้เข้าร่วมมากขึ้น พัฒนา = พัฒนาไปสู่ประโยชน์แท้ โดยให้โรงเรียน สถาบันการศึกษา ได้มีสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียนเป็นฐานการเรียนรู้ เพื่อเข้าถึงวิทยาการ ปัญญาและภูมิปัญญาแห่งตน ปฎิบัติตนเป็นผู้อนุรักษ์ พัฒนา สรรพชีวิต สรรพสิ่ง ด้วยคุณธรรม ผู้บริหาร ครู อาจารย์ เข้าถึง สวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน ทั้งปรัชญาและ บรรยากาศสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน ปฏิบัติงานเป็นหนึ่ง นักเรียนระดับอนุบาล ประถมศึกษา เล่น รู้ ธรรมชาติแห่งชีวิต สรรพสิ่งล้วนพันเกี่ยว ระดับมัธยมศึกษา เรียนรู้โดยตน มีวิทยาการของตน โดยธรรมชาติแห่งชีวิต สรรพสิ่งล้วนพันเกี่ยว นักศึกษาระดับอุดมศึกษา เรียนรู้โดยตน ในปัจจัย เหตุ และส่งผลแปรเปลี่ยน เป้าหมาย ให้มีโรงเรียน สถาบันการศึกษา เป็นแบบอย่างของ การมี การใช้ ศักยภาพ สวนพฤกษศาสตร์โรงเรียนอย่างเหมาะสม ให้นักเรียน นักศึกษาได้เรียนรู้ ทุกสาขาวิชา ในลักษณะบูรณาการวิทยาการ และบรูณาการชีวิต จากปัจจัยศักยภาพ สวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน การดำเนินงานมุ่งสู่ประโยชน์แท้แก่มหาชน มุ่งสู่กระแสปูทะเลย์มหาวิชาลัย บนฐานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน โดยมีปรัชญาการสร้างนักอนุรักษ์ คือให้ การสัมผัสในสิ่งที่ไม่เคยได้สัมผัส การรู้จริงในสิ่งที่ไม่เคยได้รู้จริง เป็น ปัจจัย สู่ จินตนาการ เหตุแห่งความอาทร การุณย์ สรรพชีวิต สรรพสิ่ง และให้เกิด บรรยากาศสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน บนความเบิกบาน บนความหลายหลาก สรรพสิ่ง สรรพการกระทำ ล้วนสมดุล พืชพรรณ สรรพสัตว์ สรรพสิ่ง ได้รับความการุณย์ บนฐานแห่งสรรพชีวิต นักวิทยาศาสตร์ นักประดิษฐ์ ศิลปกร กวี นักตรรกศาสตร์ ปราชญ์น้อย ปรากฏทั่ว

      การดำเนินงาน สวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน ด้วย ศรัทธา ศึกษาเข้าใจในพระราชดำริ เข้าใจในปรัชญา การสร้างนักอนุรักษ์ บรรยากาศสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน สร้างแนวคิดในการนำสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียนเป็นฐานการเรียนรู้ สร้างแนวทาง และจัดทำกระบวนการหรือวิธีการ โดยประโยชน์จากการดำเนินงานสวนพฤกษสาสตร์โรงเรียนนั้น ได้ทักษะ ทางวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ภาษา ศิลปะ การจัดการ และเกิดคุณธรรม ในเรื่องความรับผิดชอบ ความซื่อตรง ความอดทน สามัคคี เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ มีเมตตา กรุณา มุทิตา ฯลฯ

       ธรรมชาติของสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน ดำเนินการโดย ผู้ไม่เชี่ยวชาญ บทบาทสำคัญคือเมื่อมีแล้ว ใช้พื้นที่นั้น เรียนรู้ เป็นสถานอบรมสั่งสอนเบ็ดเสร็จ เกิดทั้งวิทยาการและปัญญา กำหนดแนวทาง ในการใช้ธรรมชาติเป็นปัจจัย ให้เรารู้สิ่งรอบตน โดยการสัมผัสด้วยตา หูจมูก และจิตที่แน่ว จรดจ่อ อ่อนโยน ให้อารมณ์ ในการสัมผัส เรียนรู้ขณะที่สัมผัส แล้วกลับมาพิจารณาตน ชีวิต กาย จิตใจ การดำเนินศึกษาเรียนรู้จากสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน ข้อมูลที่ได้รับจะเป็นฐานด้านทรัพยากรกายภาพและชีวภาพ เกิดเป็นตำราในแต่ละเรื่อง เป็นฐานความรู้ เกิดความมั่นคงทาง วิทยาการ ของประเทศไทย เกิดเป็นผลทางเศรษฐกิจ เป็นฐานของเศรษฐกิจพอเพียง

      การดำเนินงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน ควรทำด้วยความสมัครใจ สอดคล้องกับธรรมชาติ ไม่ให้เกิดความเครียด มีแนวทางการดำเนินงานที่ชัดเจน เบื้องแรกต้องทำความเข้าใจในเรื่องแนวคิดแนวปฏิบัติว่า สวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน เป็นสวนของการใช้ประโยชน์ ที่จะนำมาใช้เป็นฐานการเรียนรู้ ใช้เป็นสื่อการเรียนการสอน สร้างจิตสำนึกในการ อนุรักษ์พืชพรรณ มิใช่เป็นเพียงสวนประดับ สวนหย่อมหรือ สวนสวยโรงเรียนงาม แต่เป็นงานที่เข้ามาสนับสนุน สวนที่มีอยู่แล้วหรือดำเนินการขึ้นใหม่ ซึ่งจะให้ความรู้ พัฒนาสภาพแวดล้อมตามลำดับ เป็นงานที่จะดำเนินอย่างต่อเนื่องไม่รู้จบ เพราะสามารถใช้เป็นสื่อการเรียนการสอนที่ไม่ต้องลงทุน เพียงแต่ให้เด็กรู้จักสังเกต เรียนรู้ ตั้งคำถาม และหาคำตอบ เป็นข้อมูลสะสมอันจะ ก่อให้เกิดความรู้และผู้เชี่ยวชาญในพันธุ์ไม้นั้นๆ รวมทั้งเป็นที่รวบรวมพันธุ์ไม้หายาก พันธุ์ไม้ที่ใกล้สูญพันธุ์ พรรณไม้ที่เป็นประโยชน์ พืชสมุนไพร พืชผักพื้นเมือง เป็นที่รวมภูมิปัญญาท้องถิ่น เป็นการใช้พื้นที่นั้น เรียนรู้ เป็นสถานอบรมสั่งสอนเบ็ดเสร็จ เกิดมีทั้งวิทยาการ ทั้งปัญญา

      สวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน ของโรงเรียนที่เป็นสมาชิกจะเป็นส่วนหนึ่งของ “สวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช อันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ” ที่เชื่อมต่อด้วยระบบข้อมูล จะเป็นสวนพฤกษศาสตร์ที่ใหญ่ที่สุด เนื่องจากมีสมาชิกกระจายอยู่ทั่วประเทศ มีความหลายหลากของพรรณไม้ ภูมิประเทศและความหลายหลากของการปฏิบัติ ในการนำเอาต้นไม้ พืชพรรณในสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียนเป็นสื่อการเรียนการสอน เป็นฐานการเรียนรู้

       การดำเนินงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน ดำเนินการโดยนักเรียน มีครูอาจารย์เป็นผู้ให้คำแนะนำสนับสนุน ผู้บริหารเป็นหลักและผลักดัน มีโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ เป็นสนับสนุนทางวิชาการ สวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน จึงเป็นการดำเนินงานของโรงเรียนโดยสมัครใจ ที่จะนำแนวพระราชดำริและแนวทาง การดำเนินงานที่โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ ให้คำแนะนำมาปฏิบัติ โดยเปิดโอกาสให้แต่ละโรงเรียนดำเนินงานตามความพร้อม ไม่ฝืนธรรมชาติ และนำพืชพรรณไม้ใน โรงเรียนพัฒนาเป็นฐานการเรียนรู้ เป็นสื่อการเรียนการสอนในวิชาต่างๆ อันจะเกิดผลประโยชน์แก่นักเรียน ครู อาจารย์ที่ดำเนินงาน เกิดข้อมูลองค์ความรู้ วิธีการที่จะทำให้เกิดผู้เชี่ยวชาญ สามารถที่จะนำไปใช้เป็นผลงานทางวิชาการ เพื่อเสนอขอตำแหน่งปรับระดับตำแหน่งทางวิชาการต่อไป

       สวนพฤกษศาสตร์โรงเรียนมีวิธีดำเนินการ วัตถุประสงค์ กิจกรรมการดำเนินงานสอดคล้อง กับแผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติฉบับที่ 8 นโยบายปฏิรูปการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ กรมสามัญศึกษา การประถมศึกษาแห่งชาติ นโยบายส่วนใหญ่ของโรงเรียน และสอดคล้องกับในหมวด 4 แนวทางจัดการศึกษา พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542
โพสท์ใน Uncategorized | ใส่ความเห็น